วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์
ความหมาย
          จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ"
          ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น
ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
  • การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
  • การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การละเมิดลิขสิทธิ์

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย

1.             ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2.             ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3.             ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
4.             การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

รูปแบบในการพิจารณาประเด็นทางจริยธรรมสังคม และการเมือง
                ความสัมพันธ์ของหลักจริยธรรม(Ethics) สังคม(Social) และการเมือง(Political)  เป็นสิ่งที่
มีความผูกพันต่อกันอย่างเหนียวแน่น ผู้บริหารระบบสารสนเทศมักจะพบกับสองแพร่งที่ไม่
สามารถหาทางออกได้ง่ายเมื่อพิจารณาตามหลักจริยธรรมที่ถูกสะท้อนออกมาในรูปของการโต้เถียง
ทางสังคมและการเมือง ลองวาดภาพดูว่า ถ้าสังคมเปรียบเสมือนสระน้ำที่สงบนิ่งแห่งหนึ่ง ระบบ
นิเวศวิทยาอันซับซ้อน ณ สระน้ำแห่งนี้ก็คือ ความสมดุลของกลุ่มบุคคล สังคม และองค์กรทางการ
เมืองแต่ละบุคคลรู้วิธีที่ตนจะต้องปฏิบัติภายในสระน้ำที่สมดุลนี้เพราะสถาบันทางสังคม
(ครอบครัว การศึกษา และองค์กร) ได้พัฒนากฏเกณฑ์อันทรงคุณค่าทางพฤติกรรมไว้ให้ปฏิบัติตาม
และมีกฎหมายสำหรับการควบคุมซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยฝ่ายปกครองกำหนดพฤติกรรมและ
บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน สมมุติว่ามีผู้หนึ่งโยนก้อนหินลงไปที่กลางสระน้ำแห่งนี้ แต่แทนที่จะเป็น
ก้อนหินกลับกลายเป็นเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศที่ทรงพลังอำนาจ ซึ่งทำให้เกิดแรงกระแทก
อย่างรุนแรงต่อสังคมที่สงบนิ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นก็เหมือนกับสระน้ำ นั่นคือการกระเพื่อมหรือความ
สับสนที่เกิดขึ้นอย่างมากมายนั่นเอง

                ทันใดนั้น แต่ละคนต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ใหม่ที่กฏเกณฑ์ต่างๆ ไม่ได้กล่าวถึง
สถาบันทางสังคมก็ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วต่อคลื่นของการกระเพื่อมที่เกิดขึ้น ซึ่ง
อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานหลายปีในการพัฒนามารยาท ความคาดหวัง ความรับผิดชอบของสังคม
แนวทางปกครองที่เหมาะสม หรือกฏเกณฑ์ที่สังคมยอมรับ สถาบันการปกครองก็ต้องการ
ระยะเวลาสำหรับการพัฒนากฎหมายใหม่ๆ และมักจะต้องการเห็นตัวอย่างที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น
ก่อนจะกระทำใดๆ ในระหว่างผู้คนทั้งหลายก็จะช่วยตนเอง ซึ่งอาจจะต้องเข้าไปพัวพันกับส่วนที่ไม่
มีความชัดเจนทางสังคม (Gray Areas)
                 รูปแบบ (Model)  ที่นำเสนอเป็นการเชื่อมโยงหลักจริยธรรม สังคม และการเมืองเข้า
ด้วยกันซึ่งสามารถนำใช้เป็นต้นแบบในการจัดการความผันผวนที่เกิดขึ้น รูปแบบนี้ยังมีประโยชน์
สำหรับการแยกแยะมิติความชอบธรรมของสังคมข่าวสารซึ่งเกี่ยวพันกับการกระทำในหลายระดับ
คือ ส่วนบุคคล สังคม และการเมือง

แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่เปิดประเด็นการโต้แย้งกับหลักจริยธรรม  
                  ประเด็นการถกเถียงเกี่ยวกับหลักจริยธรรมที่ยึดถือเป็นแนวทางของสังคมได้เกิดขึ้นมา
นานก่อนที่จะนำเทคโนโลยีข่าวสารมาใช้อย่างจริงจังในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีข่าวสาร
ได้ทำให้เกิดความสนใจในในเรื่องจริยธรรมเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความเครียดแก่
บุคคลในกลุ่มพวกต่างๆในสังคมสูงขึ้น และทำให้กฎหมายบางส่วนล้าสมัยหรือได้ลดทอนอำนาจ
ของกฎหมายลงอย่างมาก แนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญที่เป็นต้นเหตุของความเครียดเหล่านี้สรุปได้ดังนี้
                  1.  ขีดความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (The Doubling of
Computing Power)  เกิดขึ้นในทุก 18 เดือน ได้ทำให้องค์กรส่วนใหญ่นำระบบสารสนเทศไปใช้
ประโยชน์อย่างจริงจังในกระบวนการหลักของการผลิตสินค้าและบริการ ผลที่เกิดตามมาคือ องค์กร
ได้ผูกมัดตนเองเข้ากับระบบอย่างแน่นหนา ทำให้ความผิดพลาดของระบบ และข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำ
ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร ยิ่งกว่านั้นความล้มเหลว
ของระบบประมวลผลบางส่วนทำให้เกิดความตื่นตระหนกต่อระบบอื่นที่มีความสำคัญต่อคนโดย
ส่วนรวม แม้ระบบเหล่านั้นจะยังใช้งานได้ตามปกติก็ตาม กฏเกณฑ์ของสังคมและกฏหมายก็ยัง
ไม่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับความผูกพันที่แน่นแฟ้นแบบนี้ และมาตราฐานของการทำให้
เกิดความเที่ยงตรงและความไว้วางใจได้ของระบบสารสนเทศก็ยังไม่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป
หรือยังไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
                  2.  ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้อมูล (Advances In Data Storage) และ
ราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการกระจายตัวอย่างมากมายของฐานข้อมูล
ข่าวสารส่วนบุคคล (ข้อมูลของลูกจ้าง ลูกค้า หรือผู้ที่อาจะเป็นลูกค้าในอนาคต) ที่เก็บรักษาโดย
องค์กรของรัฐและเอกชนทั่วไป ความก้าวหน้าในการเก็บรักษาข้อมูลทำให้เกิดการละเมิดสิทธิส่วน
บุคคลทำได้ในราคาที่ถูกมากแต่กลับมีประสิทธิภาพสูงยิ่งดังเช่น แผ่นซีดีรอมเพียงแผ่นเดียว
สามารถเก็บข้อมูลของบทประพันธ์เรื่องยาวได้มากกว่า 500 เรื่อง และสามารถทำแผ่นสำเนาได้
ภายในเวลา 10 นาที ในขณะที่ผู้ที่ประพันธ์ต้องใช้เวลารวมกันนานมากกว่า 100 ปี ราคาอุปกรณ์
บันทึกข้อมูลในปัจจุบันนั้นต่ำมากจนกระทั่งร้านค้าเล็กๆ แห่งหนึ่งก็สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าทุก
คนในเมืองระดับมหานครได้อย่างสบาย
                    3.  ความก้าวหน้าในเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (Advances IN Datamining Techniques) 
สำหรับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นอีกมิติหนึ่งที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลทาง
จริยธรรม เนื่องจากการทำเหมืองข้อมูลทำให้องค์กรสามารถค้นพบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ของแต่ละบุคคลหรือสิ่งที่ต้องการทราบ เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศช่วยให้องค์กรสามารถ
ปะติดปะต่อและรวบรวมข่าวสารนับพันนับหมื่นชิ้นที่เก็บรักษาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้
กลายเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย  ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น การใช้บัตรเครดิต การใช้
โทรศัพท์ การเป็นสมาชิกวารสาร การเช่าวิดีโอ การซื้อสินค้าทางไปรษณีย์ บัญชีการใช้จ่ายผ่าน
ธนาคาร และบันทึกเกี่ยวกับทางราชการ เมื่อนำมาใช้กับเทคนิคการทำเหมืองข้อมูลอย่างเหมาะสม
แล้วจะทำให้ทราบข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ที่ไม่มีการบันทึกไว้ได้แก่ นิสัยการขับรถ รสนิยม การ
สมาคม และความสนใจทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งอาจถูกนำไปใช้หาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและ
ทางอ้อมได้อย่างง่ายดาย
                     4.  ความก้าวหน้าของระบบเครือข่าย (Advances in Networking)  รวมทั้งระบบ
อินเทอร์เน็ตเป็นมิติสุดท้ายที่สร้างปัญหาขึ้นมาด้วยการให้บริการเคลื่อนย้ายข้อมูลปริมาณสูงมาก
ด้วยระยะเวลาที่สั้นมาก และยังอำนวยความสะดวกในการทำเหมืองข้อมูลโดยใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขนาดเล็กที่สามารถใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่หลายแห่งผ่าน
ระบบเครือข่าย จึงเท่ากับเป็นการขยายขนาดฐานข้อมูลให้กว้างมากจนแทบจะหาขอบเขตไม่พบ
                     5.  การพัฒนาระบบเครือข่ายสื่อสารดิจิตอลซูเปอร์ไฮเวย์ (Global Digital Superhighway)  ซึ่งช่วยให้องค์กรหรือบุคคลสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ได้สร้างความตื่น
ตระหนกที่ท้าทายหลักจริยธรรมและสังคมได้โดยส่วนรวมเช่น ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการ
หมุนเวียนของข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายนี้ แต่ละบุคคลจะสามารถติดตามการเก็บรวบรวมข้อมูล
ของตนเองโยผู้อื่นได้หรือไม่และอย่างไร ระบบเครือข่ายนี้จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง
ครอบครัว การทำงาน และการพักผ่อนอย่างไร งานในยุคใหม่จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับ
สถานะลูกจ้างหรือพนักงานจำนวนนับล้านคนที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ โดยใช้การติดต่อผ่าน
ระบบเครือข่ายได้อย่างไร เป็นต้น
จริยธรรมในยุคสังคมข่าวสาร
                     มนุษย์ที่มีจริยธรรม คือกลุ่มคนที่มีความต้องการเป็นอิสระในทางเลือกของตนเอง
หลักจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทางเลือกของแต่ละบุคคล ซึ่งเมื่อเผชิญหน้ากับการปฏิบัติที่มีหลาย
ทางเลือกแล้ว จะต้องสามารถพิจารณาว่าอะไรคือทางเลือกที่ชอบธรรม หรืออะไรเป็นลักษณะเด่น
ของทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
หลักปฏิบัติสำหรับมืออาชีพ
                     กลุ่มบุคคลที่อ้างตนเองว่าเป็นมืออาชีพ (Professional) หมายถึง กลุ่มคนที่อ้างสิทธิ
พิเศษรวมทั้งความรับผิดชอบในพันธกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้ออ้างในการมีความรู้ ความรอบคอบ
และความเอาใจใส่อย่างลึกซึ้งเหนือผู้อื่น หลักปฏิบัติสำหรับมืออาชีพ (Professional Code of
Conduct) ได้รับการประกาศในลักษณะของพระราชบัญญัติ โดยสมาคมมืออาชีพในประเทศ
สหรัฐอเมริกาอย่างเช่น the American Medical Association, the American Bar Association, the
Data Processing Management Association, และ the Association of Computing Machinery เป็นต้น
องค์กรเหล่านี้ช่วยกันรับผิดชอบในการกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกและมาตรฐานในการแข่งขัน
ระหว่างกัน ส่วนหลักจริยธรรม (Code of Ethics) ได้รับการรับรองจากผู้ประกอบอาชีพในการ
ควบคุมซึ่งกันและกัน โดยมุ่งเน้นในการเคารพต่อศีลธรรมอันดีของสังคมเช่น การหลีกเลี่ยงการ
สร้างผลร้ายต่อผู้อื่น การยกย่องสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่น และการเคารพสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งมี
ตัวอย่างปรากฏอยู่ใน the General Moral Imperatives of the AMC’s Code of Ethics and
Professional Conduct (AMC,1993)
                      ส่วนขยายของภาคบังคับของหลักความชอบธรรมนี้ได้กล่าวว่า สมาชิกของ AMC
ควรพิจารณาเรื่องสุขภาพ ความเป็นส่วนตัว และความผาสุกของสาธารณชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
ผลกระทบจากของตนเอง และจะต้องนำเสนอความคิดเห็นแบบมืออาชีพต่อผู้จ้างงานเกี่ยวกับผล
ของงานที่อาจจะทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายจากสิ่งที่เกิดตามมาในภายหลัง
นิยามพื้นฐานของความรับผิดชอบ และการตรวจสอบ และพันธุกรรม
                       ทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม (Ethical choiec) คือการตัดสินใจโดยแต่ละบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อผลของการกระทำจะเกิดมาในภายหลัง
                       ความรับผิดชอบ (Responsibility)คือลักษณะเด่นของแต่ละบุคคลและเป็นกุญแจสำคัญของการกระทำที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม ความรับผิดชอบ ยังถึงการยอมรับสิ่งที่อาจกลายเป็นค่าใช้จ่าย หน้าที่ หรือข้อผูกพันที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตัดสินใจนั้น 
                       การตรวจสอบ (Accountability) เป็นลักษณะเด่นของแต่ละบุคคลและสังคมที่เกี่ยวกับหนทางการแก้ปัญหา หมายความว่า เป็นกลไกสำหรับการกำหนดตัวบุคคลผู้ที่แสดงความรับผิดชอบไปแล้วและผู้ที่จะเข้ามารับผิดชอบต่อไป ระบบและสถาบันที่ไม่สามารถค้นหาว่าใครได้กระทำการใดไปแล้วบ้าง มักจะไม่มีความสามารถในการวิเคราะห์ตามหลัก จริยธรรม (Ethical analysis) หรือการกำหนดพฤติกรรมที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
                      พันธกรรม (Liability) ขยายขอบเขตนิยามของความรับผิดชอบออกไปทางกฎหมาย พันธกรรม คือลักษณะเด่นของระบบทางกฎหมาย ซึ้งกำหนดวิธีการแก้คืนหรือการฟื้นสภาพให้กับบุคคลที่ได้รับผลเสียหายจากการกระทำของบุคคล ระบบ หรือองค์กรอื่น
                       กระบวนการยุติธรรม (Due Process) เป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับสังคมที่มีการปกครองด้วยกฎหมาย ที่ทำให้แน่ใจว่ากฎหมายทุกฉบับเป็นที่รู้จักและเข้าใจกันทั่วไปและกำหนดวิธีการร้องเรียนต่อผู้มีอำนาจสูง
            นิยามพื้นฐานเหล่านี้ได้ร่วมกันสร้างรากฐานที่สำคัญ 3ประการสำหรับการวิเคราะห์ตามหลักจริยธรรมต่อระบบสารสนเทศและผู้บริหารระบบสารสนเทศ
             1.เทคโนโลยีข่าวสารถูกการกลั่นกรองโดยสถาบันของสังคม องค์กร และปัจเจกชน (Individual) ระบบจะไม่สามารถสร้างผลกระทบได้ด้วยตนเองของมันเอง ดังนั้นผลกระทบใด ๆ จากระบบสารทนเทศจึงเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำและพฤติกรรมของสถาบัน องค์กร
            2.ความรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดตามเทคโนโลยีจึงเป็นของสถาบัน องค์กร และผู้บริหารแต่ละคนที่เป็นผู้เลือกใช้เทคโนโลยีนั้น การใช้เทคโนโลยีข่าวสารในแต่ละลักษณะที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึงการที่ผู้ใช้มีความสามารถและจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดตามมาจากการกระทำ
            3.ในสังคมที่ใช้หลักจริยธรรมและหลักกฎหมายมีกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้อื่นให้ได้รับจากการชดเชยหรือสามารถฟื้นสภาพได้อย่างเป็นธรรม
การวิเคราะห์ตามหลักจริยธรรม
แต่ละบุคคลจะมีวิธีการวิเคราะห์และหาเหตุผลมาเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมได้ตามขั้นตอน ดั้งนั้น
                    แยกแยะและอธิบายข้อเท็จจริงให้ชัดเจน การพยายามค้นหาข้อเท็จจริงว่าไรได้ทำอะไรต่อใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร  อาจสร้างความประหลาดใจให้เกิดขึ้นได้เมือพบว่าข้อเท็จจริงในหลาย ๆ เหตุการณ์ที่ได้รับการรายงานเบื้องต้นไม่ถูกต้อง ซึ้งเมือใช้ได้ถูกต้องแล้วก็อาจจะพบวิธีการแก้ไขปัญหานั้น ๆ  ด้วย และบางครั้งก็ช่วยให้ฝ่ายตรงข้ามมีความเข้าใจในข้อเท็จจริงจึงร่วมกันได้
                 
                     กำหนดความขัดแย้งหรือทางเลือกและแยกแยะค่านิยมระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง ประเด่นทางจริยธรรม สังคม และการเมืองมักจะอ้างถึงค่านิยมระดับสูง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการโต้แย้งมักจะอ้างถึงค่านิยมในระดับสูง เช่น ความเป็นอิสระความเป็นส่วนตัว การปกป้องทรัพย์สิน และระบบการค้าเสรี เป็นต้น โดยทั่วไปหลักจริยธรรมจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับทางสองแพร่ง คือทางเสรีที่สนับสนุนค่านิยมที่แตกต่างกัน เช่น การที่ร้านค้าต้องการขยายตลาดการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่คนทั่วไปต้องการการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล
แยกแยะผู้สนับสนุน หลักทุกข้อของจริยธรรม สังคม และการเมืองจะต้องมีผู้สนับสนุนอยู่เสมอ หมายถึงที่มีความสนใจแก่ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งที่ได้ลงทุนไปแล้วการค้นหากลุ่มนี้พบจะสามารถช่วยการในการออกแบบหนทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมได้ในภายหลัง
                     แยกแยะทางเลือกที่สามารถยอมรับได้ ในบางครั้งอาจพบว่าไม่มีทางเลือกใดเลยที่สามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคลได้ทุกข้อ อย่างไรก็ตาม ทางเลือกบางอย่างก็ดูดีกว่าทางเลือกอื่น ๆ บางครั้งใช้หนทางแก้ปัญหาที่ดีหรือปัญหาที่สอดคล้ององกับจริยธรรมอาจจะไม่ทำให้เกิดความสมดุลต่อสิ่งที่จะเกิดตามมาแก่กลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์
                      แยกแยะสิ่งที่อาจจะเกิดตามมาจากทางเลือกที่มี หนทางเลือกบางอย่างอาจจะถูกต้องตามหลักจริยธรรม แต่อาจกลายเป็นแหล่งสูญเสียต่อสิ่งอื่น ในขณะที่ทางเลือกอื่นอาจมีความเหมาะสมเฉพาะกรณี ซึ่งอาจไม่สามารถนำไปใช้ในกรณีอื่นได้
ข้อเสนอหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐาน
แม้ว่าแต่ละบุคคลจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกหลักจริยธรรมที่ตนเองต้องการและจัดลำดับของหลักการทั้งหลาย แต่การศึกษา หลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้ในวัฒนธรรมหลายอย่างที่ใช้กันมานานนับตั้งแต่ตอนต้นของยุคประวัติศาสตร์ก็อาจมีประโยชน์มาก ซึ้งอาจจะสามารถสรุปได้ดงนี้
                1.หลักการ Golden rule กล่าวว่า แต่ละบุคคลกระทำการใด ๆ ต่อบุคคลอื่นในลักษณะที่ตนเองต้องการได้รับจากบุคคลนั้น การสมมุตติให้ตนเออยู่ไปอยู่ในสถานการณ์ที่ผู้อื่นกำลังประสบอยู่ และให้ตนองเป็นเป้าหมายของการตัดสินใจ จะช่วยให้บุคคลสามารถตัดสินใจได้อย่างยุติธรรม
                2.จาก Immanuel Kant’s Categorical Imperative กล่าวว่า การกระทำใดที่ไม่สามารถหาผู้เหมาะสมเป็นผู้ลงมือทำได้แล้ว การกระทำนั้นจะไม่เหมาะสมที่กระทำต่อผู้อื่นได้เลย ดังนั้นจึงพิจารณาถ้าทุกคนกระทำการอย่างไรอย่างหนึ่งแล้วจะทำให้องค์กรหรือสังคมอยู่รอดได้หรือไม่
                3.จาก Deserter’s rule of change กล่าวว่า กระทำการใดที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอแล้ว การกระทำนั้นก็ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เลย หลักการนี้คล้ายกับกฎหมายที่เรียกว่า slippery slope rule นั้นคือ การกระทำหนึ่งอาจซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในปัจจุบันซึ่งอาจจะยอมรับได้ แต่ถ้านำมาใช้บ่อย ๆ แล้วจะทำให้เกิดผลที่ไม่สามารถยอมรับได้ในอนาคตได้
                4.Utilitarian Principle กล่าวว่า ให้เลือกการกระทำที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงกว่าหรือทางคุณค่ามากกว่า กฎข้อนี้ต้องสมมุติฐานว่าสามารถกำหนดระดับความสำคัญให้แก่ทางเลือกแต่ละทางได้ และมีความเข้าใจต่อผลที่ตามมาของกระบวนการกระทำแต่ละอย่าง
                5.Risk Aversion Principle  เน้นให้เลือกการกระทำที่ส่งผลเสียน้อยที่สุด หรือคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายต่ำสุด การกระทำบางอย่างจะทำให้เกิดมีค่าจ่ายอย่างมากมายในขณะที่มีโอกาสที่จะปฏิบัติสำเร็จได้ในระดับต่ำ เช่น การสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในเขตเมือง หรือการกระทำที่มีผลเสียหายและมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในระดับปลานกลางล้มเหลวมากขึ้นมาก
                6.ให้ตั้งสมมุติฐานได้ว่าของทุกอย่างทั้งที่จับต้องไม่ได้และไม่สามารถที่จับต้องได้แลไม่สามารถจับต้องได้นั้นเป็นทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเสมอ นอกจากนี้มีสิ่งใดบอกได้อย่างชัดเจน นี้คือหลักจริยธรรมที่ว่าไม่มีสิ่งใดได้มาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สิ่งใดที่สร้างมาโดยผู้อื่นและอาจเป็นประโยชน์ แสดงสิ่งนั้นมีคุณค่าและเจ้าของ จะต้องได้รับการตอบแทนในมูลค่าที่เหมาะสมเสมอ
หลักปฏิบัติสำหรับมืออาชีพ
                         กลุ่มบุคคลที่อ้างตนเองว่าเป็นมืออาชีพ (Professional) หมายถึง กลุ่มที่อ้างถึงสิทธิพิเศษรวมทั้งความรับผิดชอบในพันธุกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้ข้ออ้างในการมีความรู้ ความรอบครอบ และความเอาใจใส่อย่างลึกซึ้งเหนือผู้อื่น หลักปฏิบัติสำหรับมืออาชีพ(Professional Code of Conduct) ได้รับการประกาศในลักษณะของพระราชบัญญัติ โดยสมาคมมืออาชีพในประเทศสหรัฐอเมริการอย่างเช่น  the American Medical Association, the American Bar Association, the Data Processing Management Association, และ the Association of Computing Machinery เป็นต้น องค์กรเหล่านั้นช่วยกันรับผิดชอบในการกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกและมาตรฐานในการแข่งขันระหว่างกันส่วนหลักจริยธรรมได้รับการรับรองจากผู้ประกอบอาชีพในการควบคุมซึ่งกันและกันโดยมุ้งเน้นในการเคารพต่อศีลธรรมอันดีงามของสังคม เช่น การหลีกเลี่ยงการสร้างผลร้ายต่อผู้อื่นการยกย่องสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่น  และการเคารพสิทธิส่วนบุคคลอยู่ในthe General Moral Imperatives of  the ACM’s Code of Ethics and Professional Conduct (ADM’1993)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น